เมื่อเป็นจำเลยและถูกฟ้องในคดีแพ่ง ต่อมาในชั้นพิจารณา เจ้าหนี้กับจำเลยอาจมีการเจรจาตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้
ซึ่งข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยต้องปฏิบัติอย่างครบถ้วน และตรงตามทุกตัวอักษรหาไม่ปฏิบัติตาม ศาลพิพากษาตามยอมโดยทันที
>>> ยอดหนี้เท่าไหร่ ฟ้องศาลได้
คนก็จะสงสัยว่าหาก ประนอมหนี้ที่ศาลแล้วไม่จ่าย อะไรจะเกิดขึ้น
คำตอบมีอยู่แล้วว่าหากท่านมี การทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการประนอมหนี้ที่ศาลกับโจทย์แล้วตอบมาท่านในฐานะจำเลยไม่ยอมจ่ายหนี้ตามหนังสือสัญญาประนีประนอมหรือการประนอมหนี้ที่ศาลก็จะมีผลต่อมาคือ
1.ศาลจะมีคำพิพากษาตามยอม
2. เจ้าหนี้สามารถสืบทรัพย์ตามยึดอายัดทรัพย์ของท่าน
3. เจ้าหนี้ ขอศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
4. เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์สินของเจ้าหนี้ขายทอดตลาด หรือ อายัดบัญชีธนาคารต่างๆหรืออายัด ทะเบียนรถยนต์ หรืออะไรที่เป็นทรัพย์สินของท่าน
5. ทั้งหมดนี้เพื่อ นำขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป
และการประนอมหนี้ที่ศาลหรือการทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลแล้วไม่จ่ายนี้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งความยุติธรรม ท่านในฐานะจำเลยไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้อีกต่อไป คดีเป็นอันถึงที่สุดแล้ว